วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

Chapter 1 (1946-1957): ธันวาคม ค.ศ.1954 (พ.ศ. 2497): ต้นแบบหมายเลข 1 ของเครื่องคิดเลขสำนักงานที่ทำงานด้วยไฟฟ้าและรีเลย์เสร็จสมบูรณ์

แรกเริ่มเดิมทีบริษัท Kashio Seisakujo เป็นเพียงโรงงานขนาดเล็กที่รับช่วงผลิตชิ้นส่วนกล้องจุลทรรศน์และชิ้นส่วนแมคคานิคเท่านั้น Tadao มีน้องชายสามคนได้แก่ Toshio, Kazuo, และ Yukio น้องชายคนรอง Toshio เริ่มทำงานที่กระทรวงการสื่อสารในโตเกียว (Ministry of Communications ปัจจุบันคือ Nippon Telegraph and Telephone Corporation, NTT) ในตำแหน่งช่างเทคนิคเกี่ยวกับการผลิตอุปกรณ์โทรสารและโทรศัพท์


เมื่อToshio เห็น Tadao ทำงานหนักทุกวันที่ Kashio Seisakujo, Toshio ก็มีความคิดที่จะใช้ความสามารถที่เค้ามีกลับเข้ามาช่วยงานพี่ชายของเค้า ในวัยเด็ก Toshio มีความใฝ่ฝันและเฝ้าบอกกับคนในครอบครัวมาตลอดว่าเมื่อโตขึ้นเค้าจะเป็นนักประดิษฐ์อย่างที่ Thomas Elva Adison นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกันที่เค้าให้การยกย่อง

แม้ว่าด้วยประสบการณ์และความสามารถที่เค้าจะมีทำให้เค้ามีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นอย่างมากแต่แล้วเค้าก็ตัดสินใจลาออกเพื่อมาช่วยทำงานที่บริษัท Kashio Seisakujo ที่พี่ชายของเค้า Tadao เป็นผู้ก่อตั้ง เพื่อพิสูจน์ความสามารถในการเป็นนักประดิษฐ์ของเค้า


สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างผลกำไรให้กับบริษัทเป็นชิ้นแรกคือแหวนที่ใช้สวมในขณะสูบบุหรี่มีชื่อว่า “The Yubiwa Pipe” มีลักษณะคล้ายแหวนสวมนิ้วทั่วๆ ไปแต่ที่ไม่ธรรมดาก็ตรงที่แหวนนี้สามารถทำให้คนสูบสามารถสูบบุหรี่ได้โดยไม่ต้องคอยใช้นิ้วคีบมวนบุหรี่อยู่ตลอดเวลา จึงสามารถทำงานอย่างอื่นได้ในขณะสูบบุหรี่ Tadao รับหน้าที่ผลิตโดยใช้เครื่องกลึงเป็นเครื่องผลิตและพ่อของเค้า Shigeru เป็นผู้นำออกไปขาย สินค้าได้รับความนิยมและขายดีเป็นเทน้ำ เทท่าเกิดเป็นผลกำไรอันงดงาม ทำให้มีเงินทุนมากพอสำหรับนำไปพัฒนาเครื่องคิดเลขของพวกเค้าในเวลาต่อมา

หลังจากผลงาน The Yubiwa Pipeประสบความสำเร็จ, ต่อมาในปีค.ศ. 1949 ณ งานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นครั้งแรก ณ เมือง Ginza ในตอนนั้นมีเครื่องคิดเลขที่บริษัทของชาวตะวันตกผลิตขึ้นมาวางแสดงอยู่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เครื่องคิดเลขยังคงทำงานด้วยชิ้นส่วนเมคคานิคและใช้งานด้วยมือไม่ได้ทำงานด้วยไฟฟ้า ยังไม่มีเครื่องคิดเลขที่ทำงานด้วยวงจรอิเลคทรอนิคอย่างที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน แม้ในตอนนั้นจะมีเครื่องคิดเลขบางรุ่นที่บริษัทต่างชาติผลิตขึ้นจะสามารถทำงานด้วยไฟฟ้าแต่ก็เป็นเพียงเป็นการไปขับมอเตอร์เพื่อไปหมุนชุดชิ้นส่วนแมคคานิคอีกทีนึงแม้จะทำงานได้รวดเร็วกว่ารุ่นที่ทำงานด้วยชิ้นส่วนแมคคานิคล้วนๆ แต่ก็ยังคงมีเสียงดังตอนทำงานอยู่ดี

เครื่องคิดเลขที่ทำงานด้วยไฟฟ้าไปขับเคลื่อนมอเตอร์ดังกล่าวในขณะนั้นถือว่าเป็นเทคโนโลขั้นสูงที่ญี่ปุ่นยังไม่สามารถผลิตได้เอง จากปัญหาเสียงดังในขณะใช้งานของเครื่องคิดเลขที่ทำงานด้วยชิ้นส่วนแมคคานิคดังกล่าวทำให้ Toshino ตัดสินใจพัฒนาเครื่องคิดเลขที่ทำงานด้วยวงจรไฟฟ้าร่วมกับโซลินอยด์ (Solenoid) *เพื่อให้มาแทนที่การทำงานด้วยชิ้นส่วนแมคคานิคแบบเดิม


Tadao และ Toshio สองคนพี่น้องใช้เวลาหลังจากงานประจำมาพัฒนาเครื่องคิดเลขตามแนวความคิดของเค้าโดยใช้เวลาในการทำแล้วขอความเห็นจากผู้ใช้งานแล้วกลับมาพัฒนา ทำไป ทำมากว่าสิบรุ่นจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เครื่องคิดเลขที่ทำงานด้วยไฟฟ้าเครื่องแรกของญี่ปุ่นจึงถือกำเนิดขึ้นในปีค.ศ. 1954 

 
ในปีต่อมาเค้านำผลงานอันน่าภูมิใจดังกล่าวไปเสนอต่อ Bunshodo Corporation บริษัทขายสินค้าประเภทเครื่องใช้สำนักงานในขณะนั้น แต่แล้วตัวแทนบริษัท Bunshodo ก็ตอบกลับมาว่าเครื่องคิดเลขของพวกเค้าล้าสมัยไปซะแล้วเพราะมันไม่สามารถคำนวณสมการ Multiplication (การคูณ) เหมือนที่เครื่องคิดเลขของที่อื่นๆ ทำได้

ทำให้สองพี่น้องต้องกลับมาเริ่มต้นกันอีกครั้ง ในเวลานั้นน้องชายอีกสองคน Kazuo และ Yukio ได้ลาออกจากงานและเข้ามาช่วยงานที่ Kashio Seisakujo ด้วย โดยมีการแบ่งหน้าที่กันดังนี้ Toshio เป็นฝ่ายค้นคิดผลิตภัณฑ์, Yukio ที่เรียนมาทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลทำหน้าที่เขียนแบเพื่อการผลิต ส่วน Tadao และ Kazuo ทำหน้าที่ฝ่ายผลิต 

ปีค.ศ. 1956 หกปีให้หลังการพัฒนาเครื่องคิดเลขรุ่นแรกของพวกเค้าเข้าใกล้ความสมบูรณ์เต็มที แต่การผลิตเครื่องคิดเลขที่ทำงานด้วยโซลินอยด์เป็นจำนวนมากเพื่อการค้า (mass-produce) ยังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญอีกตัวนึง Toshio จึงมีความคิดที่จะล้มเลิกการผลิตเครื่องคิดเลขที่ทำงานด้วยโซลินอยด์ทิ้งเสีย แล้วหันมาผลิตเครื่องคิดเลขที่ทำงานด้วยรีเลย์ (Relay)* ให้เหมือนกับเครื่องโทรศัพท์ในสมัยนั้นที่ต่างทำงานด้วยรีเลย์ทั้งสิ้น

แม้ว่าในสมัยนั้นจะมีผู้คิดค้นเครื่องคำนวณขั้นสูงที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ปรากฏให้เห็นแล้ว ตั้งแต่ปีค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) แต่คอมพิวเตอร์ดังกล่าวก็ยังคงมีขนาดใหญ่โตเท่ากับห้องๆ นึงเลยที่เดียวแถมยังต้องอยู่ในห้องที่ควบคุมความสะอาดของอากาศเป็นอย่างดีอีกด้วยเพราะยังอาศัยการทำงานของรีเลย์จำนวนมากซึ่งเสียหายได้ง่ายมากจากฝุ่นละออง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนักประดิษฐ์หัวใสต้องหาวิธีทำให้เครื่องคิดเลขที่จะนำไปใช้ตามสำนักงานต่างๆ มีขนาดที่กะทัดรัดและเหมาะสมมากขึ้น พี่น้องตระกูล Kashio ทั้งสี่จึงเริ่มจากการลดจำนวนรีเลย์ลง จากรีเลย์หลายพันตัว (บางเครื่องใช้รีเลย์มากกว่าหมื่นตัว) ที่ถูกใช้ในคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น เมื่อผ่านการออกแบบวงจรใหม่จึงลดจำนวนลงมาเหลือเพียง 342 ตัว และพวกเค้ายังได้พัฒนาต้นแบบของรีเลย์ที่ทนทานต่อฝุ่นละอองอีกด้วย

นวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่อีกอันนึงที่สี่พี่น้องได้คิดค้นขึ้นมาในขณะนั้นก็คือการหันมาใช้โครงสร้างแป้นกดแบบ Ten-key format ที่มีปุ่มกดเพียงสิบปุ่ม (ตัวเลข 0-9) ที่เหมือนกับเครื่องคิดเลขที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ที่ต้องกล่าวถึงอีกอันนึงก็คือหน้าจอแสดงผลการคำนวณแบบใหม่ ที่ก่อนหน้านั้นเครื่องคิดเลขจะมีหน้าจอ 3 จอแยกแสดงผลระหว่างตัวเลขเช่นถ้าต้องการคำนวณ 100 + 200 = 300 จอแสดงผลแต่ละจอจะแสดงผลเป็น “100,” “200,”,และ “300” แต่เครื่องคิดเลขของพวกเค้าใช้จอแสดงผลเพียงจอเดียว ในทุกวันนี้การแสดงผลแบบนี้คงดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในสมัยนั้นถือว่าเป็นนวัตรกรรมใหม่และเป็นการยากมากกว่าจะทำให้เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้งาน 

แต่อย่างไรก็ตามนับได้ว่าเครื่องคิดเลขขนาดเล็กที่สามารถนำไปใช้ได้ในสำนักงานทั่วไปได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้แล้ว
เครื่องคิดเลข CASIO รุ่น 14-A

แปลและเรียบเรียงโดย WatchIndeeD.com
อ้างอิงจาก http://world.casio.com/corporate/history/


เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

*โซลินอยด์ (Solenoid) เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าชนิดนึงมีโครงสร้างเป็นขดลวดพันรอบๆ แกนสารแม่เหล็กทรงกระบอกสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไป เราใช้โซลินอยด์มาประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องการเชื่อมโยงพลังงานไฟฟ้ามาเป็นพลังงานกล

*รีเลย์ (Relay) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชิงกล ชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าเป็นสวิตช์ แต่รีเลย์นั้นจะถูกควบคุมด้วย กระแสไฟฟ้า
การทำงานของรีเลย์ คือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด จะทำให้ขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กไปดึง แผ่นหน้าสัมผัสให้ดึงลงมา แตะหน้าสัมผัสอีกอันทำให้มีกระแสไหลผ่านหน้าสัมผัสไปได้

*ประวัติของคอมพิวเตอร์ (Computer) หาอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้ครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Computer






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น